ReadyPlanet.com


ติดต่อเรา

"รายการโรงเรียนของหนู"
78/155 หมู่ 8 ถ.ติวานนท์ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

โทรศัพท์: 081-174-2009, 
0-2964-0797

แฟกซ์: 0-2964-0798
อีเมล:
myschoolproject@outlook.com

facebook.com/MySchoolProject





ร่วมสมทบทุน

ร่วมสมทบทุนโครงการโรงเรียนของหนูได้ที่...
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาแจ้งวัฒนะ
บัญชีออมทรัพย์ 
ชื่อบัญชี
“ทุนอาหารกลางวันโรงเรียนของหนู”
เลขที่บัญชี
324-2-38410-3

*กรุณาแฟกซ์ใบสลิปมาให้ทางโครงการฯเพื่อที่ทางโครงการฯจะได้ออกใบขอบคุณให้ท่าน*





Support Us

Learn more about us and
how to be a part of the
movement to provide educational opportunities to
underpriviledge students over Thailand..
View



ความรู้เกี่ยวกับไข้มาลาเรีย article
ไข้มาลาเรีย

   ลักษณะทั่วไป

    มาลาเรีย (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า ) ยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา มักพบในบริเวณที่เป็นป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ  ในบ้านเราคนที่มีไข้หนาวสั่นมากหรือมีไข้นานหลายวัน เมื่อตรวจร่างกายไม่พบอาการอย่างอื่นชัดเจน หรือพบเพียงตับโตม้ามโตพึงนึกถึงโรคนี้กับไข้ไทฟอยด์ ไว้ก่อนเสมอ

    เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ 70-90% มักมีปัญหาดื้อยา และมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้ 

 
 สาเหตุ

เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจาก การได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่

   ระยะฟักตัว

ชนิดพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม 8-12 วัน (สั้นที่สุด 5 วัน) ชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ 10-15 วัน (อาจนานหลายเดือน) ถ้าเกิดจากการให้เลือด อาจมีอาการเกิดขึ้นเร็วกว่านี้


   อาการ

อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้)
ไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ฟาลซิปารัมจะเกิดทุก 2 วัน ส่วนไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ไวแวกซ์จะเกิดทุก 3 วัน ใน 2-3 วันแรก อาจมี
อาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้าย ไข้หวัดใหญุ่ ต่อมาจึงจะมีอาการไข้จับสั่นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย อาการจับไข้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

     1. ระยะหนาว มีอาการหนาวสั่นมากและไข้เริ่มขึ้น ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ระยะนี้กิน
        
เวลา 20-60 นาที

     2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงประมาณ 40 ํซ. ปวดศีรษะมาก อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา หน้าแดง ตาแดง กระสับกระส่าย
         เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ในเด็กอาจชักได้ กินเวลา
         ประมาณ 2 ชั่วโมง (อาจนาน 3-8 ชั่วโมง)

     3. ระยะเหงื่อออก จะมีเหงื่อออกชุ่มทั้งตัว ไข้จะลดลงเป็นปกติ แต่จะรู้สึกอ่อนเพลีย และหลับไป กินเวลาประมาณ
        1 ชั่วโมง ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ มักจับไข้วันเว้นวัน หรือทุก 48 ชั่วโมง เวลาไม่จับไข้จะรู้สึกสบายดี มักจะคลำ
        ได้ม้ามโตในปลายสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้วันเว้นวันอยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน (อาจนานกว่า-
         นั้น) แล้วจะหายไปเอง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง แม้ว่าไข้จะหายไปแล้ว แต่ก็อาจกลับเป็นได้
         ใหม่หลังจากหายไป 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน แต่อาการจะน้อยกว่าครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็น ๆ
         หาย  ๆ บ่อย และมักไม่มีโรคแทรกร้ายแรง บางคนอาจกินเวลานานถึง 2-3 ปี กว่าจะหายขาด จึงเรียกว่า
        
"มาลาเรียเรื้อรัง"

       ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม มักจับไข้ทุกวันหรือทุก 36 ชั่วโมง แต่อาจจับไม่เป็นเวลา อาจจับทั้งวัน หรือวันละ
    หลายครั้ง ระยะไม่จับไข้ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย และอาจมีไข้ต่ำ ๆ อยู่เรื่อย บางรายอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดินร่วม
    ด้วย ม้ามจะโตในวันที่ 7- 10 ของไข้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไข้จะลงภายใน 3-5 วัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง อาจมี
    โรคแทรกร้ายแรงถึงตายได้ จึงเรียกว่า "มาลาเรียชนิดร้ายแรง"


  
สิ่งตรวจพบ

ไข้ประมาณ 40 ํซ. หน้าแดง ตาแดง ม้ามโต (คลำได้ในปลายสัปดาห์ที่ 2 หลังมีไข้) ตับอาจโต อาจมีเริมที่ริมฝีปาก อาจมีอาการซีดเหลือง หรือปัสสาวะแดงเข้ม หรือปัสสาวะดำเหมือนน้ำโคล่า แต่ก็อาจไม่พบอะไรมากนอกจากไข้ ในเด็กที่เป็นเรื้อรัง อาจมีลักษณะพุงโรก้นปอด ขาดอาหาร ในรายที่เป็นมาลาเรียขึ้นสมอง จะมีอาการเพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ (ซึ่งชาวบ้านบางแห่งยังเข้าใจว่าเป็นอาการของผีเข้า พาไปรดน้ำมนต์ไล่ผี และตายลงอย่างน่าอนาถ)

  
อาการแทรกซ้อน

พบในมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม มักเกิดกับคนที่มีภูมิต้านทานน้อย เช่น ขาดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ หญิงตั้งครรภ์ คนที่ไม่เคยอยู่ในแดนมาลาเรีย ฯลฯ หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง  โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ มาลาเรียขึ้นสมอง (หมดสติหรือชัก), มาลาเรียลงตับหรือตับอักเสบ (ดีซ่าน), มาลาเรียลงกระเพาะลำไส้ (ท้องเดิน เป็นบิดถ่ายเป็นมูกเลือด), มาลาเรียลงไตหรือภาวะไตวาย (ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย), ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema มีอาการหอบ ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ), ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (ซีดและปัสสาวะดำ), ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะการเสียสมดุลน้ำ และ
อิเล็กโทรไลต์, โรคไตเนโฟรติก  เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่างพร้อมกัน เป็นอันตรายถึงตายได้ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด

  
การรักษา

        หากสงสัย ควรส่งไปเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ให้การรักษาตามอาการ, ให้ยาลดไข้ และให้ยารักษามาลาเรีย
          ตามชนิดของเชื้อที่พบ ดังนี้
 
        สำหรับมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม ให้ยารักษามาลาเรียขนานใดขนาดหนึ่ง ดังต่อไปนี้

            
(1)  ควินิน  ร่วมกับเตตราไซคลีน  ขนาด 250 มก. ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

             (2)  เมโฟลควีน  ขนาดปกติ

             (3)  เมโฟลควีน  ขนาดปกติร่วมกับเตตราไซคลีน  ขนาด 250 มก. ทุก 6 ชั่วโมง หรือร่วมกับดอกซีไซคลีน 
                  วันละ 200 มก. เป็นเวลา 7 วัน
 
             (4)  อาร์ทีซูเนต  ขนาดปกติ แบ่งให้ 5 วัน
 
             (5) อาร์ทีซูเนต  ขนาดปกติ แบ่งให้ 5 วัน หลังจากนั้นให้เมโฟลควินขนาดปกติ

             (6) อาร์ทีซูเนต  ขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดปกติ (ผู้ใหญ่ให้ 6 เม็ด แบ่งให้ใน 2 วันครึ่ง โดยครั้งแรกให้ 2 เม็ด
                  ต่อไปให้ 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง) หลังจากนั้นให้เมโฟลควีน (ผู้ใหญ่ 3 เม็ด ครั้งเดียว)

             (7) อาร์ทีซูเนต  ผู้ใหญ่ให้วันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 4 เม็ด นาน 2 วัน (รวมทั้งหมด 800 มก.) หลังจากนั้นให้เมโฟลควีน
                  ขนาดปกติ

            
       สำหรับมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ให้คลอโรควีน  โดยแบ่งให้ 3 วัน หลังจากนั้นให้ไพรมาควีน  วันละครั้ง
              เป็นเวลา 14 วัน เพื่อกำจัดเชื้อมาลาเรีย ที่หลบซ่อนอยู่ในตับให้หมดไป แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่อง
              เอนไซม์จี 6 พีดี เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก มีอาการซีดเหลืองได้ ถ้าพบอาการดังกล่าว ควร
              หยุดยา และดื่มน้ำมาก ๆ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

       ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 5 วัน ควรส่งโรงพยาบาล อาจเป็นเพราะมาลาเรียดื้อยา หรือมีสาเหตุจากโรคอื่น (เช่น ไทฟอยด์
         ไทฟัส วัณโรค เล็ปโตสไปโรซิส ฯลฯ  ควรตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ แล้วให้การ
          รักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ

    
  ถ้ามีอาการสงสัยเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง (เช่น ซึม เพ้อ ชัก หรือหมดสติ) หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซีดมาก
          ดีซ่าน ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย หอบ เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วน เพื่อรีบรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิด
          ขึ้น การให้ยารักษามาลาเรียในระยะแรกอาจต้องใช้ควินิน หรืออาร์ทีซูเนตฉีดเข้าหลอดเลือดดำ จนกว่าอาการจะ
          ดีขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นยากิน


   
ข้อแนะนำ

        1. ในปัจจุบันอาการของมาลาเรีย อาจไม่ตรงไปตรงมา (ที่มีลักษณะเป็นไข้จับสั่นเป็นเวลา) ผู้ป่วยอาจมีไข้สูง หนาว
ทุกวัน อาจไม่มีอาการสั่นก็ได้ จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้เฉพาะว่าเป็นมาลาเรีย แต่อาจพบในโรคอื่น ๆได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ทุกรายที่มีประวัติเข้าป่า หรือมีประวัติเคยได้รับเลือดมาภายใน 2-6 เดือน หรือสงสัยว่าจะเป็นมาลาเรียจากการติดเชื้อทางอื่น (เช่น ลูกที่เกิดจากแม่ที่เคยเป็นมาลาเรีย
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเลี้ยงยุงก้นปล่อง เจ้าหน้าที่ที่ตรวจเลือด หรือบุคคลที่บ้านอยู่ใกล้สนามบิน ซึ่งเครื่องบินอาจนำยุงก้นปล่องมาจากประเทศอื่น เป็นต้น) ก็ควรจะต้องเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย

        2. ผู้ป่วยมาลาเรีย อาจตรวจเลือดไม่พบเชื้อก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นโรคในระยะแรก ๆ (เชื้อมาลาเรียมีจำนวนน้อย) ดังนั้น ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง ภายใน 12-24 ชั่วโมง หรือขณะมีไข้ การตรวจเลือดบ่อย ๆ จะมีโอกาสพบเชื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่กินยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือกินยารักษามาบ้างแล้ว ก็จะทำให้การตรวจพบเชื้อมาลาเรียได้ลำบากมากขึ้น เพราะจะเห็นเชื้อมาลาเรียไม่ชัดเจน ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีไข้ และมีประวัติสงสัยติดเชื้อมาลาเรีย แม้ตรวจเลือดไม่พบเชื้อ ก็ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และตรวจเลือดบ่อย ๆ หากจำเป็น อาจจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ชัดเจน

    
 3. ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว หากมีไข้กำเริบภายใน 2 เดือน โดยไม่ได้มีประวัติติดเชื้อครั้งใหม่ อาจมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อมาลาเรียทั้งชนิดฟาลซิพารัม และชนิดไวแวกซ์ พร้อมกัน แต่ได้รับการรักษาแบบชนิดฟาลซิพารัม จึงมีเชื้อชนิด
ไวแวกซ์หลบซ่อนอยู่ในตับ เกิดอาการกำเริบได้ หรือไม่ก็อาจเกิดจากได้ยาไม่ครบ หรือเชื้อดื้อยา ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้กำเริบ ภายใน 2 เดือน หลังจากหายจากมาลาเรียครั้งแรกแล้ว ควรต้องเจาะเลือดตรวจหาเชื้ออีก


     4. ต้องบอกผู้ป่วยให้กินยาครบตามแพทย์สั่ง ถ้าไม่ครบ จะมีโอกาสเป็นไข้มาลาเรียกำเริบได้อีก ส่วนการกินยารักษามาลาเรีย ไม่ควรกินขณะจับไข้หนาวสั่น ผู้ป่วยอาจอาเจียน และได้ยาไม่ครบขนาด ควรให้ยาแก้ไข้ หรือ ยาแก้อาเจียน นำไปก่อนสัก 1/2-1 ชั่วโมง เมื่ออาการไข้ทุเลา จึงให้ยารักษามาลาเรีย และหลังจากนั้น ควรให้ผู้ป่วยนอนพักสัก 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรลุกหรือเดินทันที เพราะอาจเกิดอาการเวียนหัว (ความดันเลือดต่ำ) และอาเจียนได้

     5. ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ หนาวสั่นมาก ถ้าไม่ได้ประวัติติดเชื้อมาลาเรีย (เช่น ไม่ได้เข้าป่า หรือรับเลือด) อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นก็ได้ เช่น กรวยไตอักเสบ, ปอดอักเสบระยะ 24 ชั่วโมงแรก, ท่อน้ำดีอักเสบ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก , มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น จึงควรตรวจดูอาการของโรคเหล่านี้ให้ถ้วนถี่ด้วย

   
การป้องกัน

      1. เมื่อต้องเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา ควรป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด โดยการนอนกางมุ้ง และใช้ยากันยุง
 
      2. ยาที่ใช้ป้องกัน ตามที่เคยแนะนำในอดีตนั้น พบว่า ไม่ได้ผลมากนัก ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ เช่น

          2.1 คลอโรควีน ผู้ใหญ่ให้ 1 เม็ด ทุกสัปดาห์ ป้องกันชนิดฟาลซิพารัม ไม่ได้ผล และแม้จะป้องกันชนิดไวแวกซ์ได้
                ก็เป็นการกดอาการไว้ชั่วคราว เมื่อหยุดกินยานี้แล้ว ผู้ป่วยก็ยังมีอาการกำเริบได้ภายใน 2-6 เดือน เนื่องจาก
                เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ในตับจะออกมาสู่กระแสเลือด

          2.2 ซัลฟาดอกซีน-ไพริเมทามีน เช่น "แฟนซีดาร์" ผู้ใหญ่ให้ 1 เม็ดทุกสัปดาห์ หรือ 2 เม็ดทุก 2 สัปดาห์ ได้ผลน้อย
                เพราะทั้งชนิดฟาลซิพารัม และชนิดไวแวกซ์ ดื้อต่อยาชนิดนี้

          2.3 ดอกซีไซคลีน ผู้ใหญ่ให้วันละ 100 มก.ทุกวัน ป้องกันมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ไม่ได้ ส่วนประสิทธิผลในการ
                ป้องกันมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัมนั้นยังบอกไม่ได้ชัดว่าสูงเพียงใด

          2.4 เมโฟรควีน ผู้ใหญ่ให้ 1 เม็ด ทุกสัปดาห์ แม้จะได้ผลต่อทั้งชนิดไวแวกซ์ และฟาลซิพารัม แต่ก็พบว่ามีบางรายที่
                ดื้อยา จึงป้องกันได้ไม่ 100%

          ดังนั้นในปัจจุบัน จึงไม่แนะนำให้กินยาป้องกันล่วงหน้า แต่แนะนำว่า ถ้าออกจากป่าแล้วมีอาการไข้ หรือมีอาการ
       สงสัยเป็นมาลาเรีย ให้รีบทำการตรวจรักษา หรือในกรณีที่ต้องเข้าไปอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นที่มีเชื้อมาลาเรีย ดื้อต่อยา
       หลายชนิด เป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ (ระยะฟักตัวของโรค) ก็ควรพกยารักษามาลาเรีย (ได้แก่ ควินิน เมโฟลควีน
       หรือ อาร์ทีซูเนต)
ไว้สำรองใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อไม่สามารถตรวจเลือดได้ โดยใช้ในขนาดที่ใช้รักษามาลาเรีย

                                                                                              ข้อมูลจาก ... www.thailabonline.com



นานาสาระ

ฉก.(เฉพาะกิจ)กลางป่า ตอน กองทัพธรรมของหลวงพ่อวิริยังค์
ลำนำการศึกษา ประสา นายโอม คนย่ำป่า article
ฝึกสมองไบรท์ด้วย 9 เทคนิค article
อาหารตามกรุ๊ปเลือด article
เหตุผลดีๆกับการชะลอความแก่ article
เที่ยวกับขสมก. article
ร้านอาหารอร่อยในเชียงใหม่ article
เรื่องยาที่ทุกคนควรรู้ article
อยากให้รู้..... article
มารู้จักแก๊สโซฮอล์กันเถอะ article
ผจญภัยกับนายโอมตอน “ความจริง…บนยอดดอย” article
ผจญภัยกับนายโอม...ตอน เที่ยวไปกินไปกับเมืองในหมอก article
เรื่องเล่าจากประสบการณ์...ตอน ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ article
เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ตอน...สิ่งเร้นลับ article
ตำนานคนย่ำป่า article